English Thailand

จินตนาการสยาม ร.ศ.227 ชุด 5

Be the first to review this product

Availability: In stock

฿190.00

Quick Overview

รหัสสินค้า : OCM CD 904


Format : CD


Run time : 

จินตนาการสยาม ร.ศ.227 ชุด 5

Double click on above image to view full picture

Zoom Out
Zoom In

More Views

Details

จินตนาการสยาม ร.ศ.227 ชุด 5
นิก กอไผ่ (ชัยภัค ภัทนจินดา)
ดูแลการผลิต / เรียบเรียง / บรรเลง ซอด้วง ซออู้ ซอจีน สะล้อ ขลุ่ยเพียงออ ขิมสาย ระนาดทุ้ม ซึง คีย์บอร์ด กีตาร์โปร่ง กีตาร์ไฟ เมทาโลโฟน เครื่องประกอบจังหวะ
รับเชิญพิเศษ
ทศพร ทัศนะ    ระนาดเอก
นรอรรถ จันทร์กล่ำ   ไวโอลิน
อภิชัย เลี่ยมทอง   วิโอลอนเชลโล่
ดำริห์ บรรณกิจ   โอโบ


ชาญชัย ศรีทองแจ้ง   ควบคุมการบันทึกเสียง / ประสมเสียง / จัดทำต้นฉบับ
โอเชี่ยน ดิจิตอล สตูดิโอ ห้องบันทึกเสียง
ปรีชา ธรรมพิภพ   อำนวยการผลิต

เขมรไทรโยค เพชรน้ำงามเม็ดหนึ่ง งานพระราชนิพนธ์เพลงไทบแบบฉบับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ โดยได้ทรงขยายเป็นเพลงอัตรา 3 ชั้น จากทำนองเพลงเขมรกล่อมลูก 2 ชั้นเดิม เพลงอมตะเพลงนี้นับอายุได้ 123 ปีแล้ว นับว่าเป็นเพลงไทยเพลงแรกๆ ที่มีลักษณะเป็นเพลงบรรยายภาพความงดงามของธรรมชาติ หรือ บรรยายเรื่องราวลักษณะคล้ายคลึงกับที่เรียกกันว่า โปรแกรมมิวสิค ของทางตะวันตก สำหรับเขมรไทรโยคที่ได้ปรากฏในงานชุดนี้ ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ภูใจเสนอด้วยพลังน้ำเสียงของไวโอลิน สอดสลับกับเสียงขิม กีตาร์โปร่ง และแนวดนตรีที่สนับสนุนที่อ่อนหวาน โดยอ้างอิงสำนวนทางเพลงฝั่งธน
ลาวดำเนินทรายทางเปลี่ยน (ไทยดำเนินดอย) ลาวดำเนินทราย 2 ชั้นเดิมเป็นเพลงทำนองร้องสักวา ประพันธ์โดยจ่าเผ่นผยองยิ่ง ต่อมาพระยาประสานดุริยศัพท์ ได้ประพันธ์ทำนองดนตรีดนตรีเลียนตามลีลาของทำนองร้องเดิม จุดประสงค์เพื่อให้วงปี่พาทย์ เครื่องสายใช้บรรเลงและก็เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย ต่อมาครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ ได้ประดิษฐ์ทางเปลี่ยนขึ้น โดยปรับลีลาให้เครื่องดนตรีในวงมีการบรรเลงเดี่ยวสลับอวดฝีมือกัน อีกทั้งยังมีลีลาช้าในท่อนแรกแต่แปรเปลี่ยนไปเป็นเร็วในท่อนหลัง ซึ่งนับว่ามีความแปลกใหม่กว่าบทเพลงส่วนใหญ่ในยุคสมัยนั้นและสำหรับชื่อ ไทยดำเนินดอยนั้น เป็นชื่อที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระราชทานสำหรับบทร้องที่ทรงพระนิพนธ์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2523 โดยกำหนดให้บรรเลงรับด้วยทำนองลาวดำเนินทรายเดิมทางเที่ยวแรก ต่อเนื่องด้วยทางเที่ยวเปลี่ยนข้างต้น
พม่าอาโก เป็นเพลงเกร็ดสำเนียงภาษาพม่าสำนวนเก่า ไม่ทราบนามผู้ประพันธ์อีกเพลงหนึ่งที่มีความสับสนในการเรียกชื่อเพลง เนื่องจากมีท่วงทำนองไปคล้ายคลึงกันกับอีกเพลง ซึ่งมีชื่เรียกแตกต่างกัน คือ มอญส้มปิ่น ซึ่งไม่ขอยืนยันที่มาและความถูกต้อง ณ ที่นี้ แต่ที่ควรกล่าวถึงสำหรับเพลงนี้คือ เป็นเพลงสำเนียงภาษาที่ไพเราะ จนครูสุรพล โทณวนิก นักประพันธ์เพลงเลื่องชื่ออีกท่านหนึ่งในวงการดนตรีไทยสากล ท่านได้นำทำนองเพลงนี้มาดัดแปลงบรรจุคำร้องเป็นเพลง บุเรงนองลั่นกลองรบ ที่มีคำสร้อยเป็นลูกคู่ติดปากติดหูผู้ฟังในรุ่นสมัยนั้น คือคำร้องที่ว่า "ทุงยา บาเล ทุงยา บาเล"
ทะแยตัด เพลงเกร็ดสั้นๆ อัตรา2ชั้น ไม่ทราบนามผู้ประพันธ์เพลงนี้ เป็นอีกเพลงหนึ่งที่ใช้อัตราการประพันธ์ในแบบการคลี่คลายหรือตัดทอนจากโครงสร้างเพลงเดิมที่มีความยาวให้สั้นลงเพียงแต่คงสำนวนเด่นบางสำนวนของเพลงเดิมเอาไว้ และสำหรับร่องรอยจากชื่อ เพลงทะแยตัด ก็ทำให้ทราบได้ว่ามาจากเค้าโครงเดิมคือเพลง ทะแยนั่นเอง การตัดความยาวของท่อนเพลงลงดังกล่าว ย่อมมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเพลงมาใช้งานในอีกลักษณะที่ต้องการความกระชับ ซึ่งก็คือการเป็นเพลงร้องประกอบเดินเนื้อเรื่องของละครทั่วไป ต่อมาในยุคที่เพลงไทยสากลฟื้นฟู นักประพันธ์เพลงไทยสากลท่านหนึ่ง คือ ครูประเทือง บุญญประพันธ์ ชื่นชอบควาามเศร้าของทำนองเพลงนี้ จึงนำมาบรรจุคำร้องเป็นเพลงไทยสากล ชื่อ สั่งฟ้าฝากดิน ขับร้องครั้งแรกโดยคุณ ชรินทร์ นันทนาคร และในเวลาถัดมาครูประเทืองก็ได้ประพันธ์เนื้อเพลงร้องแก้ คือ ฟ้าลาดิน ซึ่งมีท่วงทำนองเดียวกัน
นางเยื้อง เพลงโบราณอัตรา 2 ชั้น 2 ท่อน ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา รวมอยู่ในตับเรื่องนางกราย ประกอบด้วยเพลง นางกราย นางเยื้อง สร้อยต่าน นาคเกี่ยวพระสุเมรุ พระรามตามกวาง พระรามคืนนคร และพระรามเดินดง สันนิษฐานว่า เนื่องด้วยสำนวนเพลงที่มีเอกลักษณ์ ลีลาเฉพาะไม่เก่ากรุเมื่อเทียบกับอายุของเพลง เพลงนางเยื้องจึงนับเป็นเพลงหนึ่งในจำนวนไม่กี่เพลงที่ยังคงจดจำสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยไม่สาบสูญไปก่อนเหมือนหลายเพลงในยุคสมัยเดียวกัน จึงได้นำมาเรียบเรียงให้ฟังสบาย แต่สีสันใหม่ ตามยุคสมัย
ลำปางใหญ่ ทำนองสำเนียงลาวทางภาคเหนือ ไม่ทราบนามผู้ประพันธ์ซึ่งเป็นที่คุ้นเคยติดหู และถูกนำไปดัดแปลงเรียบเรียง บรรจุคำร้องในแบบสมัยเป็นแบบต่างๆ ทั้งลีลาหวานเย็นสนุกสนาน กระฉับกระเฉงมากมายหลายต่อหลายวาระ ครั้งนี้เป็นอีกวาระหนึ่ง ที่ได้ถ่ายทอดเป็นบทบรรเลงเดี่ยวด้วยซอไวโอลิน สอดรับด้วยสะล้อ ซึง ในลีลาช้านุ่มนวล เย็นยะเยือก ชวนให้ระลึกถึงบรรยากาศของเมือง รถม้าและผู้คนทางถิ่นภาคเหนือ
ญวนรำลึก เป็นเพลงเถาสำเนียงญวน 3 ท่อนที่ประพันธ์ขึ้นใหม่โดย ศจ.ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ ทั้งทางร้องและทางบรรเลง มีความไพเราะโดเด่นไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเพลงสำเนียงญวนอื่นๆ ที่มีมาก่อนหน้านั้นในการเรียบเรียงครั้งนี้ได้ตัดตอนมาเฉพาะทำนอง 2 ชั้น โดยกำหนดให้ซอจีน (เอ้อหู) ระนาดทุ้ม ขิม สลับกันบรรเลงทำนองนำ หนุนเนื่องด้วยเสียงเปียโนเป็นแนวสนับสนุน
กุญชรเกษม กุญชรเกษม (หรือระบำช้าง) เป็นเพลงระบำหนึ่งในชุดระบำสัตว์ที่ครูมนตรี ตราโมท เรียบเรียง-ประพันธ์ขึ้นโดยอาศัยเค้าโครงและขยายความจากเพลงช้างประสานงาเดิม รวมทั้งการนำเพลงฉิ่งช้างประสานงาชั้นเดียวของเดิมมาผนวกในตอนท้ายของชุดเพลง เนื้อความของเพลงระบำนี้ อธิบายภาพของช้าง 8 ตระกูลซึ่งเป็นบริวารของพระคเณศ และกรมศิลปากรได้จัดแสดงระบำชุดนี้เป็นชุดเบิกโรง ชุดพระคเณศประทานพรเนื่องด้วยจินตนาการถึงลีลา บุคลิก การเคลื่อนไหว ของพญาช้างที่เนิบนาบ แต่ดูหนักแน่นและยิ่งใหญ่ จึงได้ใช้ซอวิโอลอนเชลโลบรรเลงเป็นสุ้มเสียงตัวแทนหลักของทำนองเพลงนี้ สลับด้วยกลุ่มขลุ่ย ระนาดเอก-ทุ้ม ตลอดจนลีลาเครื่องประกอบจังหวะที่หลากหลาย ในแต่ละท่อนเพลงที่ดำเนินไป
ชมแสงจันทร์ รากของเพลงเดิมเริ่มต้นกำเนิดจากเพลงประกอบเพลงเร็วอัตราชั้นเดียว และสองไม้ 2 ชั้น ชื่อต้นวรเชษฐ์ ซึ่งบรรเลงรวมอยู่ในเพลงเรื่องเต่ากินผักบุ้ง หรือเพลงเรื่องสร้อยสน หรือมักใช้ประกอบการรำหรือแสดงละคร ต่อมาครูกล้วย ณ บางช้าง นักดนตรีที่มีชื่อเสียงจากสมุทรสงครามได้ประพันธ์ทางเปลี่ยน 2 ชั้น ขึ้นใหม่เป็นรูปแบบลักษณะประโยคจังหวะยกตอนท้ายเลียนกันทุกท่อนเพลง ซึ่งตอมาเป็นทำนองที่ถูกจดจำแพร่หลายกว่า 2 ชั้นของเดิมซึ่งเป็นลักษณะกลอนดำเนินทำนองทั่วไป และต่อมาครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ ได้ขยายขึ้นเป็นเพลงสำนวนทางกรออัตรา 3 ชั้น ชื่อว่า ชมแสงจันทร์
ปราณ 2 เป็นการสืบสานต่อเนื่องจากปราณภาคแรกที่ปรากฏในงานชุดเดิม จินตนาการสยาม 1 โดยในปราณภาค 2 นี้ แม้มีรายละเอียดสีสัน ท่วงทำนองที่แตกต่าง แต่อย่างไรก็ตามก็ยังคงมีแก่นกลางของเพลงอยู่ที่แนวคิดวิถีทางแบบมินิมอลลิสซึ่ม หรือจะเอื้อนเอ่ยเป็นภาษาง่ายๆว่า น้อยๆแบบพอเพียงแต่พองาม อันหมายความรวมทั้งตัวโน้ต ประโยคเพลง การเคลื่อนไหว การเปลี่ยนแปลง และบรรยากาศของเพลงทั้งหลายนั่นเอง
ดนตรีร่วมสมัยโดย นิค กอไผ่

Product Tags

Use spaces to separate tags. Use single quotes (') for phrases.