English Thailand

ระบำ รำ ฟ้อน 14

เป็นคนแรกที่วิจารณ์สินค้านี้

Availability: ในคลังสินค้า

฿220.00

รายละเอียด

รหัสสินค้า: OCM DVD 046

รำถวายพระพรสมเด็จพระเทพฯ

ระบำ รำ ฟ้อน 14

Double click on above image to view full picture

ซูมออก
ซูมเข้า

มุมมองเพิ่มเติม

รายละเอียด

ระบำ รำ ฟ้อน 14 รำถวายพระพรสมเด็จพระเทพฯ
1. รำถวายพระพรสมเด็จพระเทพฯ
2. รำบำมะเส็งสำราญ
3. ระบำสมิระ
4. ระบำรำลึก 100 ปี ครูเตือน พาทยกุล
5. ละครรำลึก 100 ปี ครูเตือน พาทยกุล

รำบำ รำ ฟ้อน ชุดนี้จัดแสดงขึ้นในวาระรำลึก 100 ปี ครูเตือน พาทยกุล ณ โรงละครแห่งชาติ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระเมตตาเสด็จมาเป็นองค์ประธาน การแสดงครั้งนี้สำเร็จลงได้ด้วยดีจากความร่วมมือร่วมใจกันของเหล่าศิลปินและลูกศิษย์ของครูเตือนและขอขอบคุณศิลปินกองการสังคีต กรมศิลปากร ทุกท่านที่ได้มีส่วนร่วมในการแสดงครั้งนี้
รำถวายพระพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
การแสดงรำถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงมีพระเมตตาเสด็จมาเป็นองค์ประธานงานรำลึก 100 ปี ครูเตือน พาทยกุล ศิลปินแห่งชาติ ซึ่งบรรดาทายาทพาทยกุล คณะครู ผู้ปกครอง ศิษย์ คณะกรรมการและหน่วยงาน ผู้ให้การสนับสนุน ต่างพร้อมใจถวายพระพรแทบเบื้องพระยุคลบาทสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระผู้ทรงเป็น "เทพรัตนารินทร์ วศิษฏศิลปิน"
ระบำมะเส็งสำราญ
ระบำมะเส็งสำราญ หรือระบำงู เป็นชุดการแสดงที่คณะครูนาฏศิลป์โรงเรียนพาทยกุลฯ ได้ประดิษฐขึ้นจากท่ารำของอาจารย์จำเรียง พุธประดับ ที่ถ่ายทอดให้ศิษย์นำไปแสดงในครั้งที่เปิดสถานเสาวภา สภากาชาดไทย โดยผู้แสดงแต่งกายเป็นงูชนิดต่างๆ ซึ่งอาจารย์ประพิศพรรณ ศรีเพ็ญ เป็นผู้จดบันทึกท่ารำเหล่านั้นไว้
เมื่อครั้งที่ครูเตือน พาทยกุล เมื่ออายุครบ 96 ปี คณะครู ผู้ปกครองและศิษย์โรงเรียนพาทยกุล ได้จัดงานฉลองและด้วยเห็นว่าครูเตือน เกิดปีมะเส็ง จึงประดิษฐ์ชุดระบำงูขึ้นโดยนำท่ารำของอาจารย์จำเรียง พุธประดับ มาปรับให้เหมาะสมกับนักเรียนรุ่นเยาว์ แต่แต่งกายเป็นงูสีเขียวชนิดเดียว
ในโอกาสครบรอบ 100 ปี ครูเตือน พาทยกุล เพื่อเป็นการรำลึกถึงจึงได้นำชุดระบำงูกลับมาแสดงอีกวาระหนึ่ง และเรียกชื่อให้สอดคล้องกับปีเกิดครูเตือนว่า "ระบำมะเส็งสำราญ"
ระบำสมิระ
เป็นการแสดงอันเนื่องมาจากคืนหนึ่ง ครูเตือน พาทยกุล นอนหลับและได้ฝันเห็นนางสมิระ หญิงคนรักเชื้อสายแขกที่เสียชีวิตไปแล้ว เพื่อเป็นการรำลึกถึงครูเตือน จึงได้ประพันธ์เพลงสำเนียงแขกขึ้นและมีความประสงค์ให้หญิงสาวสวยมาเต้นตามทำนองเพลงนี้ เพราะในอดีต นางสมิระเป็นนักเต้นระบำที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากในสมัยนั้น
เพลงสำเนียงแขกที่ครูเตือนประพันธ์ขึ้นดังกล่าว เป็นเพลงท่อนเดียวที่มีทั้งจังหวะช้า ปานกลาง ในตอนแรกและจังหวะเร็วในตอนหลัง ใช้หน้าทับแขกตีคลุกเคล้าไปกับทำนองเพลง นายบำรุง พาทยกุล บุตรชาย ได้นำทำนองเพลงนั้นไปขอความอนุเคาะห์ อาจารย์จตุรงค์ มนตรีศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลอินเดีย วิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร ให้ช่วยประดิษฐ์ท่าเต้นระบำแขกตามทำนองเพลงและจังหวะ ให้นำออกแสดงครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 ณ โรงละครแห่งชาติ (โรงเล็ก) ในงานฉลองอายุ 96 ปี ครูเตือน พาทยกุล ทั้งนี้ได้ตั้งชื่อเพลงและระบำชุดนี้ตามชื่อหญิงคนรักนั้นว่า "สมิระ"
ระบำรำลึก 100 ปี ครูเตือน พาทยกุล
เป็นการแสดงที่ร่วมแรงร่วมใจกันองเหล่าลูกศิษย์ เพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณูปการของครูเตือน พาทยกุล ที่มีต่อการดนตรีและนาฏศิลป์ไทย ในโอกาสครบรอบ 100 ปี
ละครรำลึก 100 ปี ครูเตือน โดย อ.เสรี หวังในธรรม
ครูเตือน พาทยกุล ครูดนตรีไทย ชาวจังหวัดเพชรบุรี ศิษย์ท่านครูจางวางทั่ว พาทยโกศล ผู้มีชีวประวัติและผลงานทางการดนตรีมาเป็นเวลานานหลายสิบปี จนได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ด้านดนตรีไทย ผลงานและเหตุการณ์ที่นำมาแสดง อาทิ การรำชุดรำลึก 100 ปี ครูเตือน พาทยกุล ศิลปินแห่งชาติ ซึ่งบทร้องจะบรรยายถึงผลงานทางการดนตรีและความเป็นอัฉริยภาพทางด้านความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งศิษย์จะนำเสนอในรูปแบบนาฏศิลป์ไทย แตรวง วงอังกะลุง หรือแม้แต่รถสามล้อถีบในจังหวัดเพชรบุรี ที่ครูเตือนคิดประดิษฐ์ตัดแปลงจากรถจักรยานสองล้อในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งอาจารย์เสรี หวังในธรรม ศิลปินแห่งชาติ และคุณอรอุมา เกษตรพืชผล จะพาคณะมาเล่าขานให้สำราญครื้นเครง และนักแสดงทุกคนจะร่วมร้องเพลงมาร์ทพาทยกุล ประกาศศักดิ์ศรีแห่งสถาบันดนตรีและนาฏศิลป์ อันก่อกำเนิดจากครูเตือน พาทยกุล คือ "โรงเรียนพาทยกุล การดนตรีและนาฏศิลป์" ให้ขจรขจายสืบไป

Tags สินค้า

ใช่ช่องว่างแบ่ง tag. ใช้ single quotes (') สำหรับคำพูด.