English Thailand

ระบำ รำ ฟ้อน 12

เป็นคนแรกที่วิจารณ์สินค้านี้

Availability: ในคลังสินค้า

฿220.00

รายละเอียด

รหัสสินค้า: OCM DVD 014

ฟ้อนลาวแพน

ระบำ รำ ฟ้อน 12

Double click on above image to view full picture

ซูมออก
ซูมเข้า

มุมมองเพิ่มเติม

รายละเอียด

ระบำ รำ ฟ้อน 12 ฟ้อนลาวแพน
1. ระบำสวัสดิรักษา
2. รำกริชสุหรานากง
3. ระบำฉิ่งธิเบต
4. ฟ้อนลาวแพน (มีคำร้อง)


ระบำ รำ ฟ้อน ชุดนี้ จัดแสดงขึ้นเนื่องในวาระครบรอบ 100 ครูลมุล ยมะคุปต์ ณ โรงละครแห่งชาติเมื่อวันที่ 1 กรกกาคม 2548 บรรเลงโดยวงดนตรีสำนักการสังคีต กรมศิลปากร เป็นการแสดงมุทิตาจิตของเหล่าลูกศิษย์ครูลมุลที่ได้ไปเป็นครูสอนนาฏศิลป์ตามสถาบันต่างๆ รวมตัวกันมาร่วมจัดการแสดงในครั้งนี้ ด้วยความรักและรำลึกถึงพระคุณของคุณครู
ระบำสวัสดิรักษา
เกิดขึ้นด้วยความคิดถึงคุณหญิงอภัย จันทวิมล เมื่อปี 2507 อาจารย์สลวย โรจนสโรช เป็นผู้ประพันธ์บทร้องตามตำราสวัสดิรักษาของสุนทรภู่ ครูมนตรีตราโมท เป็นผู้บรรจุทำนองเพลง ครูลมุล ยมะคุปต์เป็นผู้ประดิษฐท่ารำ ครูสำเนียง วิภาตะศิลปิน เป็นผู้ถ่ายทอดท่ารำจากครูลมุลไปสอนและฝึกซ้อมให้แก่นาฏศิลป์สมัครเล่น เคยมีพระราชเสาวนีย์โปรดเกล้าฯ ให้โรงเรียนราชทัศน์นาฏศิลป์เข้าไปถ่ายทอดท่ารำและฝึกซ้อมให้แก่บรรดาเชื้อพระวงศ์และข้าราชบริพารฝ่ายในเพื่อแสดงถวายทอดพระเนตรในวโรกาสที่ทรงจัดงานต้อนรับพระราชอาคันตุกะในพระบรมมหาราชวังด้วย
กริชสุหรานากง
กริช เป็นอาวุธสำคัญของชาวชวาและมลายู นิยมว่าเป็นเครื่องประดับอันสง่างามและทรงเกียรติ จึงมีวิธีและท่าทางการใช้กริชอย่างมากมายการรำกริชที่แสดงนี้เป็นการรำอย่างแบบละครรำ ซึ่งได้ดัดแปลงบทบาทท่าทีลีลาให้งดงาม ตามแบบนาฏศิลป์ไทย ถือกันว่าเป็นท่ารำที่สวยงามและมีจังหวะเร่งเร้าใจของผู้ดูเป็นอย่างยิ่ง จนกลายเป็นศิลปการแสดงอย่างหนึ่งของไทย มีทั้งการรำเดี่ยวและรำคู่ รำกริชสุหรานากง เป็นชื่อที่เรียกตามตัวละคร "ระเด่นสุหรานากง" จากละครในเรื่อง อิเหนา ซึ่งเป็นโอรสของท้าวสิงหัดส่าหรีกษัตริย์ องค์หนึ่งในวงเทวัณ การรำกริชนี้อยู่ในตอนที่ตามเสด็จขบวนท้าวดาหา เพื่อไปบวงสรวงองค์ปะตาระกาหลา
ระบำฉิ่งธเบต
ระบำฉิ่ง เป็นระบำที่เกิดขึ้นจากพระปรารภในพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุภัณฑ์ยุคลที่จะให้มีระบำชุดนี้เกิดขึ้นโดยพระองค์ท่านได้สรรหาฉิ่งของประเทศต่าง ๆ ในที่สุดทรงเห็นว่าฉิ่งของธิเบตเป็นฉิ่งที่มีขนาดพอเหมาะและมีเสียงกังวานจึงนำมาให้ครูลมุล ยมะคุปต์และคุณครูเฉลย ศุขะวณิช ประดิษฐ์ท่าระบำขึ้น โดยท่านอาจารย์มนตรี ตราโมท เป็นผู้ประพันธ์ทำนองเพลง ได้จัดแสดงครั้งแรกในงานร่วมจิตน้อมเกล้า เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2524 ณ โรงละครแห่งชาติต่อมาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภานุภัณฑ์ยุคล ได้มอบชุดเครื่องแต่งกายและฉิ่งธเบตให้กับ ผศ. กฤษณา บัวสรวง แห่งภาควิชานาฏศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ต่อมาวิทยาลัย - นาฏศิลป์ กรมศิลปากร จึง ได้สร้างชุดเครื่องแต่งกายแบบสตรีไทยและฉิ่งไทยประกอบการแสดงเป็นที่แพร่หลายทั่วไป
ฟ้อนลาวแพน (มีคำร้อง)
ระหว่าง พ.ศ.2489 - 2498 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ ฯพณฯ พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ ท่านได้ก่อตั้งคณะละครวิจิตรศิลป์ขึ้น และนำบทละครซึ่งท่านประพันธ์ขึ้นใหม่ และโดยเหตุที่ท่านประทับใจในเนื้อร้องเพลงลาวแพนเป็นพิเศษ ท่านจึงกำหนดให้มีการขับร้อง และฟ้อนลาวแพนเป็นการแสดงสลับฉากในละครเวที
ต่อมา เมื่อ พ.ศ.2511 โดยทางช่อง 4 บางขุนพรหมได้กราบเรียนขอให้คุณครูลมุล ยมะคุปต์ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่าฟ้อนและมีบุตรีคือ คุณครูพิสมร ทำชอบ เป็นผู้ช่วยฝึกซ้อมให้แก่ศิษย์นาฏศิลป์สัมพันธ์เป็นผู้ฟ้อนมาแสดงออกอากาศในรายการเพลินเพลงกับนฤพนธ์
กล่าวได้ว่า นอกจากการแสดง "ฟ้อนลาวแพน" (มีคำร้อง) ครั้งนี้จะเป็นการสืบทอด และสืบสานผลงานนาฏศิลป์ของคุณครูลมุล ยมะคุปต์แล้วยังถือเป็นที่ระลึกในวาระครบ 60 ปีของการขับร้องเพลงลาวแพน ซึ่งเกิดขึ้นจากดำริของ ฯพณฯ พลตรีหลวงวิจิตรวาทการอีกด้วย

Tags สินค้า

ใช่ช่องว่างแบ่ง tag. ใช้ single quotes (') สำหรับคำพูด.