English Thailand

รำวงมาตราฐาน ฉบับกรมศิลปากร

เป็นคนแรกที่วิจารณ์สินค้านี้

Availability: ในคลังสินค้า

฿220.00

รายละเอียด

รหัสสินค้า: OCM DVD 025

รำวงมาตราฐาน ฉบับกรมศิลปากร

Double click on above image to view full picture

ซูมออก
ซูมเข้า

มุมมองเพิ่มเติม

รายละเอียด

ประวัติรำวงมาตรฐาน
ย้อนเวลา ประเทศไทยช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 และหลังสิ้นสงคราม สวรรค์ยามค่ำคืนของหนุ่มสาวชาวบ้านในยามเทศกาลและยามว่างจากการงาน นิยมแสดงการรื่นเริงที่เรียกว่า "รำโทน" โดยชาวบ้านมักจะชุมนุมกัน จุดตะเกียงไว้กลางลานบ้าน ผู้เล่นจะร่ายรำเป็นวงไปรอบๆ พร้อมส่งเสียงร้องสนุกสนาน ประกอบด้วยเสียงฉิ่ง เสียงโทน มีเนื้อร้องหลากหลายนิยมแพร่หลายทั่วประเทศต่อมาในยุคปฏิวัติวัฒนธรรม ภายใต้นโยบายของจอมพล ป.พิบูลสงคราม (พ.ศ. 2480 - 2489) การรำโทนได้รับการสนับสนุนอย่างยิ่งจากทางรัฐบาล อธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้นคือ จมื่นมานิตย์นเรศย์ มีคำสั่งให้ครูมนตรี ตราโมท เป็นผู้ประพันธ์เพลงประกอบท่ารำวงมาตรฐานขึ้นใหม่ โดยมีเพลง งามแสงเดือน เป็นเพลงแรก จากนั้นจึงเกิดเพลงต่อมาอีก 3 เพลง ได้แก่ เพลงชาวไทย มาซิมารำ และ คืนเดือนหงาย โดยมีหม่อมต่วน ครูมัลลี คงประภัทธ์และครูลมุล ยมะคุปต์ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำประจำเพลงไว้อย่างเป็นระเบียบ วิธีรำจะเป็นแบบรำหมู่ ให้ชายหญิงหลายๆ คู่รำเป็นวงกลมตามจังหวะเพลง ก่อนจะเริ่มรำ ชาย หญิงจะทำความเคารพซึ่งกันและกัน ต่อมากรมโฆษณาการได้ประพันธ์ เพลง เพิ่มอีก 6 เพลง คือ เพลงดอกไม้ของชาติ ดวงจันทร์วันเพ็ญ บูชานักรบ หญิงไทยใจงาม ดวงจันทร์ขวัญฟ้า ยอดชายใจหาญ จัดเป็นชุดรำวงมาตรฐานชุดแรกของชาติไทย รวม 10 เพลง ทาง รัฐบาลได้นำออกแสดงครั้งแรกสู่ประชาชนที่ท้องสนามหลวง เพื่อเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมรำวง
เมื่อสมัยวิทยาลัยนาฏศิลป์จัดการอบรมครูทั่วประเทศเพื่อเป็นการเพิ่ม วิทยฐานะ ได้มีการบรรจุเพลงรำวงมาตรฐานทั้ง 10 เพลงในการอบรมด้วย ครูเฉลย สุขวานิช ได้เปลี่ยนแปลงท่ารำบางเพลง ให้เหมาะกับอายุของผู้รำสูงอายุ ท่ารำวงจึงถูกเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจนเป็นเหตุให้มีผู้เรียกกันเป็น 2 แบบว่ารำวงมาตรฐาน แบบกรมศิลปากร และแบบวิทยาลัยนาฏศิลป์ต่อมา ครูสุวรรณี ชลานุเคราะห์ (ศิลปินแห่งชาติ) ครูผู้หนึ่งที่ได้เป็นผู้รำและบันทึกภาพท่ารำวงมาตรฐานของกรมศิลปากรในครั้ง แรก ได้ปรับปรุงวิธีการชุดรำวงมาตรฐานทั้ง 10 เพลงไว้ใหม่ โดยให้เพลงที่ร้องและบรรเลง บรรเลงติดกันตลอดทั้ง 10 เพลง และให้ท่ารำดำเนินติดต่อกัน ฉะนั้นในปัจจุบัน ชุดรำวงมาตรฐาน จึงมีรูปแบบต่างกัน 3 แบบ เมื่อเวลาผ่านไป รำวงมาตรฐานกลับถูกถอดทิ้งไปด้วยความไม่รู้คุณค่า และถูกสื่อบันเทิงใหม่ มาบดบังเสียหมด การสืบทอดรำวงมาตรฐานในยุคปัจจุบันแม้จะมีอยู่บ้างในแวดวงการศึกษาแต่ก็ไม่ ได้มีการสนับสนุนอย่างจริงจังด้วยเหตุนี้ บริษัท โอเชี่ยน มีเดีย จำกัด ได้ตระหนัก ถึงคุณค่าศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ จึงได้ร่วมกับ ครูสุวรรณี ชลานุเคราะห์ ดร.ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ สองศิลปินแห่งชาติ และครสมาน น้อยนิตย์ ร่วมกันรวบรวมบันเทิงจัดทำ การแสดงท่ารำวงมาตรฐานฉบับกรมศิลปากรครบถ้วน ทั้ง 10 เพลง เพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย ให้สมกับครั้งหนึ่งรำวงมาตรฐานเคยเป็นศิลปะประจำชาติ ที่เชิดหน้าชูตาอย่างหนึ่งในสังคมไทย

รำวงมาตรฐาน ฉบับกรมศิลปากร (ในรูปแบบ DVD)
งามแสงเดือน คืนเดือนหงาย ดอกไม้ของชาติ

การแสดงท่ารำวงทั้ง 10 ท่า
1. งามแสงเดือน
2. ชาวไทย
3. รำมาซิมารำ
4. คืนเดือนหงาย
5. ดวงจันทร์วันเพ็ญ
6. ขวัญใจดอกไม้ของชาติ
7. หญิงไทยใจงาม
8. ดวงจันทร์ขวัญฟ้า
9. ยอดชายใจหาญ
10. บูชานักรบ
11. การแสดง รำวงมาตรฐานเป็นรูปวง 4 เพลง
โดยคณะนักศึกษา 4 คู่
12. การแสดง รำวงมาตรฐาน 10 เพลงติดต่อกัน
แบบอาจารย์สุวรรณี ชลานุเคราะห์

Tags สินค้า

ใช่ช่องว่างแบ่ง tag. ใช้ single quotes (') สำหรับคำพูด.