English Thailand

ระบำ รำ ฟ้อน 9

Be the first to review this product

Availability: In stock

฿220.00

Quick Overview

รหัสสินค้า: OCM DVD 011


ระบำสวัสดิ์รักษา (ชุดนักรบ)

(ชมวีดีโอตัวอย่างด้านใน)

ระบำ รำ ฟ้อน 9

Double click on above image to view full picture

Zoom Out
Zoom In

More Views

Details

ระบำ รำ ฟ้อน 9 ระบำสวัสดิ์รักษา (ชุดนักรบ)
1. ระบำสวัสดิรักษา (ชุดนักรบ)
2. ระบำดอกไม้แห่งความรัก
3. ฟ้อนมอญ (ระบำม่านมงคล)
4. ระบำมอญคละ
5. พลายชุมพลแต่งตัว

ระบำสวัสดิรักษา (ชุดนักรบ)
ระบำสวัสดิรักษา มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ แบบที่ใช้ผู้หญิงแสดงและแบบที่ใช้ผู้ชายแสดง จากบทคำกลอนที่แต่งโดยท่านครูสุนทรภู่ จะบรรยายลักษณะของสีที่เป็นมงคลต่างๆ ในการออกศึกออกสงครามว่าต้องแต่งเสื้อผ้าสีอะไร วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี วันศุกร์ วันเสาร์และวันอาทิตย์ ซึ่งสีที่ใช้เป็นมงคลต่างๆ จะถูกโฉลกเพื่อการทำศึกทำสงครามที่ปรึกษาท่ารำโดย อาจารย์ธงไชย โพธยารมณ์ ประดิษฐ์ท่ารำโดย อาจารย์ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ แสดงโดย ศิลปินกรมศิลปากร
ระบำดอกไม่แห่งความรัก
ดอกไม้เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับโลก โดยเฉพาะผู้หญิงจะต้องชื่นชอบดอกไม้หลากหลายประเภท หลากหลายพันธุ์ด้วยกัน และดอกไม้แต่ละชนิดก็มีสรรพคุณ มีความสวยงาม มีเอกลักษณ์ของแต่ละดอกแตกต่างกันออกไป อ.วันทนีย์ ม่วงบุญ หัวหน้ากลุ่มนาฏศิลป์สำนักการสังคีต กรมศิลปากร จึงประพันธ์คำร้องระบำดอกไม้แห่งความรัก ที่มีดอกไม้ถึงแปดชนิดด้วยกัน ทำนองพลงโดย อ.สมชาย ทับพร หัวหน้ากลุ่มดุริยางค์ไทย สำนักงานสังคีตและ อ.ชัยยะ ทางมีสี เป็นผู้คิดร่วมกันประดิษฐ์ทางร้องและทางทำนอกเครื่องประกอบการแสดงชุดนี้ขึ้น และจัดแสดงโดยศิลปินสำนักการสังคีต ออกแบบเครื่องแต่งกายโดย อ.ศิริพงษ์ ฉิมพาลี
ฟ้อนมอญ (ระบำม่านมงคล)
ฟ้อนมอญ หรือระบำม่านมงคล ผู้แต่งบทร้องและทำนองคืออาจารย์มนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยของกรมศิลปากรลักษณะการรำผู้รำจะต้องแต่งกายสวยคล้ายชาวมอญหรือชาวภาคเหนือ มักรำในงานมงคล ท่าร่ายรำจึงต้องสวยอ่อนช้อยและงดงามเหมือนนางฟ้ามารำอวยพร บางท่านเรียกฟ้อนนี้ว่า "ระบำม่านมงคล" โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพลงที่ใช้ประกอบการฟ้อนนั้น มีทำนองที่ไฟเราะมาก
ระบำมอลคละ
ระบำมอญคละ หรือบางท่านเรียกมอญกละเป็นการรำตามสำเนียงเพลงมอญ ซึ่งมีมากมายหลายทำนองมารวมกัน มีทั้งที่เป็นเพลงมอญแท้ๆ และที่เป็นมอญแกมไทย แรกเริ่มคณะละครเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง ได้นำมาร้องและรำประกอบการแสดงละครเวลามอญยกทัพ จากนั้นเจ้าของปี่พาทย์ต่างๆ ได้มีการดัดแปลงเรียบเรียงและเพิ่มเติมเพลงชุดนี้เข้าเป็นตับสำหรับขับร้องเป็นเพลงลูกบท เรียกว่า "มอญคละ" แต่ละวงจะเล่นไม่เหมือนกัน ที่เรียกชื่อเพลงเหมือนกัน เพราะในเพลงเดียวกันนี้จะมีเพลงมอญ คัดเฉพาะที่ตนเห็นว่าไพเราะมารวมเป็นเพลงเดียวกันโดยจัดลำดับไม่เหมือนกัน ตับมอญคละที่นิยมขับร้องและบรรเลงอยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นแบบที่พระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) เป็นผู้เรียบเรียงขึ้น ครั้งเมื่อมีการแสดงละครพันทางเรื่อง ผู้ชนะสิบทิศ ชุดพิเศษ ท่านอาจารย์เสรี หวังในธรรม ผู้เชี่ยวชาญพิเศษกรมศิลปากรและศิลปินแห่งชาติ จึงจัดให้มีการร่ายรำมอญคละ เพื่อเป็นการเปิดม่าน การร่ายรำชุดนี้เป็นการแสดงท่ารำที่อ่อนช้อยสวยสดงดงามมาก ประกอบกับทำนองเพลงที่แสนไพเราะอย่างยิ่ง เพราะเป็นการรำถวายกษัตริย์มอญ เมืองหงสาวดี แห่งลุ่มน้ำอิระวดี
รำพลายชุมพล
เป็นการแสดงที่นำมาจากการแสดงละครเรื่อง "ขุนช้างขุนแผน" ตอนพระไวยแตกทัพ การแสดงเป็นการรำเดี่ยวโดย สมเจตน์ ภู่นา แสดงเป็นพลายชุมพลซึ่งปลอมตนเป็นมอญตอนแต่งกาย เพื่อเตรียมตัวออกรบกับพระไวย ใช้ทำนองเพลงสำเนียงมอญ ชื่อเพลงมอญดูดาว จัดเป็นชุดท่ารำและคำร้องที่สวยสดงดงาม ในชุดนี้ขับร้องโดยครูแจ้ง คล้ายสีทอง และสมชาย ทับพร ในชุดการแสดงเนื่องในวาระ 104 ปี ครูมนตรี ตราโมท

วีดีโอตัวอย่าง
http://www.youtube.com/watch?v=GVa-01W1KVA

Product Tags

Use spaces to separate tags. Use single quotes (') for phrases.